บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลควรรู้เพื่อความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน

การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คืออะไร ?
          การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วยบาดเจ็บรุนแรงขึ้น

โดยลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร 1669 คือ

          1. หมดสติช๊อคสะลึมสะลือเรียกไม่รู้สึกตัว
          2. เจ็บหน้าอกหายใจเหนื่อย
          3. สิ่งแปลกปลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ
          4. ปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรง
          5. ชักเกร็งกระตุก
          6. ปวดท้องรุนแรง
          7. ตกเลือดเลือดออกทางช่องคลอด
          8. เจ็บท้องคลอด คลอดฉุกเฉิน
          9. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเช่นรถชน จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ สัตว์มีพิษกัดต่อย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 กรณีบาดแผลฉีกขาด
          1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
          2. ทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้
          3. สังเกตการเสียเลือดถ้าเลือดออกไม่หยุดให้ใช้ผ้ายือพัน
          4. กรณีเป็นแผลที่แขน ขา และ ไม่มีกระดูกหักให้ยกส่วนนั้นให้สูง

กรณีบาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด
          1.  เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น
          2. แช่ในภาชนะที่มีนํ้าผสม นํ้าแข็ง อีกชั้น
          3. ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะที่ถูกตัดขาด
          4. ห้ามแช่ลงไปในนํ้าแข็งโดยตรง 

กรณีบาดแผลเกิดจากไฟไหม้นํ้าร้อนลวก
          1. ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก ถ้าไหม้ติดกับผิวหนัง เมื่อถอดอาจมีการดึงรั้งควรตัดเสื้อผ้าในส่วนนั้นออก
          2. ใช้นํ้าสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดลดอาการแสบร้อน

          3. ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟันยาปฎิชีวนะทาบนแผลเพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง

กรณีแผลฉีกขาดกระดูกหัก

          1.  กรณีไม่มีบาดแผล ประคบด้วยนํ้าแข็ง บริเวณที่ปวดบวมผิดรูป เพื่อลดอาการตามกระดูกยืดตรึงส่วนที่หักให้อยู่นิ่งมากที่สุด

          2. กรณีกระดูกหักแผลเปิดและกระดูกโผล่ ห้ามดันกระดูกกลับเข้าที่เด็ดขาดห้ามเลือดตามขั้นตอน